งูที่มีพิษ

 

งูสิงธรรมดา

งูสิงธรรมดา หรือ งูสิงบ้าน หรือ งูเห่าตะลาน (อังกฤษ: Indochinese rat snake; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ptyas korros) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกงูสิงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae)
มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1,400 มิลลิเมตร และหางยาว 445 มิลลิเมตร หัวยาวและส่วนของหัวกว้างกว่าลำคอเล็กน้อย ส่วนปลายของหัวมน ตาใหญ่มาก ลำตัวกลมและยาว หางยาวและส่วนปลายหางเรียว ผิวหนังลำตัวมีเกล็ดปกคลุม เกล็ดบนหัวเป็นแผ่นกว้าง เกล็ดบนหลังทางส่วนต้นของลำตัวมีขนาดใหญ่และพื้นผิวเรียบ เกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวคู่ เกล็ดรอบลำตัวในตำแหน่งกึ่งกลางตัวจำนวน 15 เกล็ด เกล็ดท้องจำนวน 170 เกล็ด และเกล็ดใต้หางจำนวน 125 เกล็ด ลำตัวมีด้านบนของหัวและบนหลังครึ่งทางด้านหน้าของลำตัวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเขียว ส่วนครึ่งทางด้านท้ายของลำตัวสีน้ำตาล เกล็ดปกคลุมลำตัวและหางมีขอบแผ่นเกล็ดสีจางหรือสีขาว ซึ่งสีขาวของขอบแผ่นเกล็ดได้ขยายกว้างขึ้นตามลำดับไปทางด้านท้ายลำตัวและหาง ทำให้ด้านท้ายของลำตัว โดยเฉพาะหาง เป็นสีขาวที่มีโครงข่ายร่างแหสีดำ คาง ใต้คอ และด้านท้องสีขาวอมน้ำตาล ด้านใต้หางสีขาว งูวัยอ่อนมีจุดเล็กสีขาวเรียงตัวเป็นแถวพาดขวาง (ไม่เป็นระเบียบ) เป็นระยะอยู่ทางส่วนต้นของลำตัว
พบกระจายพันธุ์ในทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และอนุทวีปอินเดีย เป็นงูที่กินหนูเป็นอาหารหลัก ออกหากินในเวลากลางวันบนพื้นดิน แต่ขึ้นต้นไม้ได้ดีและรวดเร็ว ว่ายน้ำได้ ประกอบกับมีพฤติกรรมการขู่และชูหัวพร้อมส่งเสียงขู่ฟ่อคล้ายงูเห่า ซึ่งเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงกว่า จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า งูเห่าตะลาน
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

งูปล้องทอง

งูปล้องทอง (อังกฤษ: Mangrove snake, Gold-ringed cat snake; ชื่อวิทยาศาสตร์: Boiga dendrophila) เป็นงูขนาดกลางมีความยาวประมาณ 170 เซนติเมตร ลำตัวมีสีดำเป็นมันและมีสีเหลืองเป็นวงเล็ก ๆ เป็นระยะ แต่ไม่รอบตัว หัวดำ ปากลายเสือและท้องมีเขี้ยวพิษใต้ตา เมื่อถูกฉกกัดบริเวณปลายปากจะไม่เป็นอันตราย นอกเสียจากถูกฉกติดและงับไปจนถึงเขี้ยวพิษ ผู้ถูกกัดไม่มีอันตรายมากนัก หากแต่เพียงมีอาการปวดบวม แต่ไม่ปรากฏเป็นรอยแผลเป็น งูปล้องทองมีนิสัยดุ เมื่อเข้าใกล้จะงอพับตัวเตรียมฉก สามารถแผ่หนังคอทางตั้งแล้วอ้าปากเพื่อให้อีกฝ่ายกลัว งูปล้องทองชอบอาศัยอยู่ตามป่าริมแม่น้ำและริมทะเลทางภาคใต้ ในเวลากลางวันจะขดตัวนอนตามพุ่มไม้ และออกหากินในเวลากลางคืน งูปล้องทองกินอาหารได้หลายอย่างเช่น หนู, นก, ตุ๊กแก, กิ้งก่า, ปลาพบมากในจังหวัดระนอง, ชุมพร, สตูล, ยะลา, ปัตตานี, ตรัง และนราธิวาส นอกจากประเทศไทยแล้วยังพบในมาเลเซียจนถึงฟิลิปปินส์

งูเขียวหัวจิ้งจก

งูเขียวหัวจิ้งจก หรือ งูเขียวปากจิ้งจก (อังกฤษ: Oriental whipsnake) เป็นงูที่มีพิษอ่อนมากชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ahaetulla prasinaในวงศ์ Colubridae มีลักษณะลำตัวเรียวยาว หัวหลิม ปลายปากแหลม ขนาดเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 2 เมตร พื้นลำตัวโดยมากเป็นสีเขียว มักจะมีเส้นสีขาวข้างลำตัวบริเวณแนวต่อระหว่างเกล็ดตัวกับเกล็ดท้อง เส้นขาวยาวตั้งแต่บริเวณคอ จนถึงโคนหาง ท้องขาว ส่วนหางตั้งแต่โคนหางถึงปลายหางจะมีสีน้ำตาลหรือสีชมพู ตามีขนาดใหญ่ ม่านตาอยู่ในแนวนอน อาศัยอยู่ตามต้นไม้ พบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ในป่าทุกประเภท แม้กระทั่งสวนสาธารณะหรือสวนในบริเวณบ้านเรือนของผู้คนที่อยู่ในเมือง
มีพิษอ่อนมาก โดยพิษจะสามารถทำอันตรายได้เฉพาะสัตว์เล็กที่เป็นอาหาร เช่น จิ้งจก, กิ้งก่า, นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เป็นต้น ขณะที่ลูกงูจะกินแมลงเป็นอาหาร โดยเป็นงูที่ออกลูกเป็นตัว ระยะเวลาการตั้งท้อง 4 เดือน ออกลูกได้ครั้งละ 6-10 ตัว การผสมพันธุ์จะเริ่มขึ้นในช่วงต้นฤดูฝน
งูเขียวหัวจิ้งจก มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับงูอีก 2 ชนิด ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน คือ งูเขียวปากแหนบ (A. nasuta) และงูเขียวหัวจิ้งจกมลายู(A. mycterizans) โดยงูทั้ง 3 ชนิด นี้ จะมีความหลากหลายทางสีสันมาก โดยจะมีสีสันแตกต่างหลากหลายออกไป ทั้งสีเขียว, สีส้ม, สีเหลือง, สีน้ำตาล,สีเทา, สีฟ้า หรือ สีเหล่านี้ผสมกัน เป็นต้น โดยงูที่มีโทนสีส้ม จะถูกเรียกว่า “กล่อมนางนอน” ขณะที่งูที่มีโทนสีเทาจะถูกเรียกว่า “ง่วงกลางดง” ซึ่งชาวบ้านโดยทั่วไปเชื่อว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง แต่หาใช่เป็นความจริงไม่
นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งมีราคาซื้อขายที่ไม่แพง

งูเขียวหัวจิ้งจกมลายู

งูเขียวหัวจิ้งจกมลายู (อังกฤษ: Malayan green whipsnake, Big-eye green whipsnake) เป็นงูพิษอ่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ahaetulla mycterizans อยู่ในวงศ์ Colubridae
มีลักษณะทางกายภาพทั่วไปคล้ายคลึงกับงูเขียวปากจิ้งจก (A. prasina) และงูเขียวปากแหนบ (A. nasuta) มาก โดยเป็นงูที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่งูเขียวหัวจิ้งจกมลายูไม่มีติ่งแหลมที่ปลายหัว ตามีขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตายาวเกินครึ่งหนึ่งของระยะจากปลายหัวถึงตา ตัวสีเขียวเข้ม หางสีเดียวกับลำตัว
ใช้ชีวิตอาศัยส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ ขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตร พบกระจายพันธุ์ในแหลมมลายูเรื่อยไปจนถึงสิงคโปร์ เกาะสุมาตราและเกาะชวาในอินโดนีเซีย[1] สำหรับในประเทศไทยพบตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป
นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานเช่นเดียวกับงูเขียวปากจิ้งจกและงูเขียวปากแหนบ

งูเขียวปากแหนบ

งูเขียวปากแหนบ (อังกฤษ: Long-nosed whip snake, Green vine snake) เป็นงูพิษอ่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ahaetulla nasuta ในวงศ์Colubridae
เป็นงูที่มีลักษณะคล้ายกับงูเขียวปากจิ้งจก (A. prasina) มาก โดยลำตัวเรียวยาวมีพื้นลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีเขียว ตามีขนาดใหญ่ ม่านตาอยู่ในแนวนอน หางมีสีเขียวกับลำตัว แต่มีคความแตกต่างคือ งูเขียวปากแหนบจะมีจะงอยปากที่เรียวเล็กและแหลมกว่างูเขียวปากจิ้งจก และมีติ่งแหลมยื่นที่ปลายหัว ใช้ชีวิตอาศัยอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ กินอาหารสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก กบ เขียด นก และหนูเป็นอาหาร
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยพบทั่วทุกภาคยกเว้นภาคใต้ พบในป่าทุกประเภท รวมถึงสวนสาธารณะหรือสวนในบ้านเรือนผู้คนทั่วไปในเมืองใหญ่ด้วย
นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน เช่นเดียวกับงูเขียวปากจิ้งจก โดยมีราคาซื้อขายที่ไม่แพง

งูเขียวพระอินทร์

ลักษณะทั่วไป
งูเขียวพระอินทร์เป็นงูบก หัวกลม ว่องไวปราดเปรียว เลื้อยเร็ว ลำตัวสีเขียวอ่อน มีลายดำตลอดตัว หัวมีลายมากจนดูคล้ายกับมีหัวสีดำ ใต้คางสีขาว ใต้ท้องสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ๆ ใต้หางมีลายดำเป็นจุด ๆ
ถิ่นอาศัย

พบในบริเวณพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 550 เมตร ในประเทศไทย จีน อินเดีย ศรีลังกา พม่า อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์

พฤติกรรม
งูเขียวพระอินทร์ชอบอาศัยอยู่ตามซอกมุมบ้าน ซุ้มไม้ โพรงไม้ ออกหากินในเวลากลางวัน กิน กิ้งก่า จิ้งจก ลูกนก หนู งูที่เล็กกว่าบางชนิด และแมลงต่าง ๆ เรื่องเล่าที่มีมานานว่างูเขียวพระอินทร์กินตับตุ๊กแก แต่ที่จริงแล้วงูเขียวพระอินทร์จะพยายามกัดรัดตุ๊กแก แล้วกินเข้าไปทั้งตัว ไม่ใช่ล้วงเข้าไปกินตับตุ๊กแกหรือพยายามแย่งอาหารตุ๊กแกแต่อย่างใด ถ้าตุ๊กแกตัวไม่โตนักก็จะกลืนกินตุ๊กแกทั้งตัว ออกลูกเป็นไข่ ครั้งละ 6-12 ฟอง

งูหัวกระโหลก

งูหัวกะโหลก หรือ งูเหลือมอ้อ (อังกฤษ: Puff-faced water snake, Masked water snake, Dog-face water snake; ชื่อวิทยาศาสตร์: Homalopsis buccata) เป็นงูพิษอ่อนชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) วงศ์ย่อยงูน้ำ (Homalopsinae)
จัดเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Homalopsis
งูหัวกะโหลก เป็นสัตว์ชนิดแรก ๆ ชนิดหนึ่งที่ได้รับการอนุกรมวิธาน มีลวดลายสีน้ำตาลอ่อนที่ส่วนหัวแลคล้ายหัวกะโหลก อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีรูจมูกที่อยู่ด้านบนของส่วนหัวเพื่อสะดวกในการหายใจเมื่อขึ้นมาจากน้ำ เกล็ดที่ท้องมีพัฒนาการดี สามารถทำให้เลื้อยบนบกได้อย่างคล่องแคล่ว
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ในชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ แม้กระทั่งตอนออกลูก ลูกงูแรกเกิดมีลายเหมือนตัวเต็มวัย แต่จะมีความต่างของสีมากกว่าโดยส่วนที่เป็นสีอ่อนในงูแรกเกิดมักเป็นสีชมพู เมื่อโตขึ้นสีจะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในงูขนาดใหญ่แทบจะไม่เห็นลายบนตัว
พบกระจายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแหล่งน้ำ สำหรับในประเทศไทย งูหัวกะโหลกมักจะอาศัยตามแหล่งน้ำนิ่ง น้ำไม่ไหลเชี่ยว ต่างกับพื้นที่ภาคใต้ที่มักจะอาศัยอยู่ในลำธารหรือโตรกธารน้ำไหล โดยจะหลบตัวอยู่ตามซอกหินเพื่อไม่ให้กระแสน้ำพัดพาไป หากินสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเช่น ปลา, กบ เป็นอาหาร โดยพฤติกรรมการล่าเหยื่อมีทั้งแบบซ่อนอยู่นิ่ง ๆ ให้เหยื่อเข้ามาหาเอง และบุกจู่โจมเหยื่อเอง
เป็นงูที่มีนิสัยไม่ดุร้าย มีพิษที่อ่อนมาก ไม่ปรากฏว่าทำร้ายมนุษย์ได้ ผู้ที่โดนกัดจะมีแผลเพียงเลือดออกเท่านั้น จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน นอกจากนี้แล้ว งูหัวกะโหลกยังใช้ประโยชน์จากหนังบนหัวในเชิงอุตสาหกรรมเครื่องหนัง อีกด้วย[3] ที่เวียดนาม มีเกษตรกรรายหนึ่งได้เลี้ยงงูหัวกะโหลกเพื่อส่งขาย ทำรายได้ดี โดยมีราคาซื้อขายตั้งแต่ 80,000-100,000 ด่ง (3.8-4.7 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม ในงูตัวเล็กน้ำหนัก 80-100 กรัม หรือราว 1 ขีด

งูกระด้าง

งูกระด้าง (อังกฤษ: Tentacled snake, Fishing snake, ชื่อวิทยาศาสตร์: Erpeton tentaculatum) เป็นงูพิษอ่อนชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง(Colubridae) ซึ่งจัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Erpeton
งูกระด้าง มีลำตัวสีน้ำตาลและดำ หรือบางครั้งจะพบมีสีสันที่หลากหลายมากกว่านี้ แต่ก็จะเป็นไปในกลุ่มสีที่แฝงตัวเข้ากับธรรมชาติได้ มีส่วนหัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบน มีจุดเด่นที่สังเกตได้ชัด คือ มีอวัยวะที่คล้ายหนวดสั้นหุ้มด้วยเกล็ดเล็ก ๆ อยู่ 2 เส้น
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 50-90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติต่าง ๆ รวมทั้งในนาข้าว หรือกระทั่งในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็มด้วย เป็นงูที่มีลักษณะแปลก คือ เมื่อถูกรบกวนหรือถูกจับจะทำตัวแข็งทื่อคล้ายกิ่งไม้ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า “งูกระด้าง”
แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นงูที่มีพิษอ่อนมาก ไม่ปรากฏว่าพิษจะสามารถทำอันตรายมนุษย์ได้ หากินในเวลากลางคืน โดยจับปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหาร
จากความแปลกประหลาดและไม่เป็นอันตรายนี้ อีกทั้งยังเป็นงูที่หาได้มายาก ราคาจึงไม่แพง ทำให้งูกระด้างเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ โดยสามารถเลี้ยงได้ในตู้ปลา โดยการจัดสภาพแวดล้อมในที่เลี้ยงให้เลียนแบบธรรมชาติ โดยใส่น้ำเพียงตื้น ๆ ให้งูพออาศัยและใช้กิ่งไม้หรือขอนไม้วางไว้ เพื่อให้งูเกาะเกี่ยวได้ ให้อาหารโดยใช้ลูกปลาขนาดเล็กที่ว่ายน้ำช้า เช่น ปลากัด, ปลาสอด และปลาหางนกยูง เป็นต้น
ซึ่งในแวดวงสัตว์เลี้ยง บางครั้งจะมีภาษาเฉพาะเรียกงูกระด้างว่า “งูอะโรวาน่า” อันเนื่องจากหนวด 2 เส้นนี้ที่แลดูคล้ายหนวดของปลาอะโรวาน่า

งูสามเหลี่ยม

งูสามเหลี่ยม หรือ งูทับทางเหลือง (อังกฤษ: Banded krait; ชื่อวิทยาศาสตร์ Bungarus fasciatus) เป็นชนิดของงูมีพิษชนิดหนึ่ง พบในอินเดีย, บังคลาเทศ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก
มีหัวกลม ลำตัวเรียวยาว1 ถึง 2เมตร ปลายหางมักทู่ บางตัวหัวแบนเล็กน้อย ลำตัวเป็นสันสามเหลี่ยมชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เลื้อยช้าแต่ว่ายน้ำได้เร็ว เป็นงูที่มีความว่องไวปราดเปรียวในน้ำ สีของลำตัวเป็นปล้องดำสลับเหลืองทั้งตัว เวลากัดไม่มีการแผ่แม่เบี้ยเหมือนงูในสกุล Naja
ในประเทศไทยจะพบได้ทุกภาค แต่จะพบได้มากในภาคใต้ รวมถึงป่าพรุโต๊ะแดงด้วย กินอาหาร จำพวก หนู, กบ, เขียด หรือปลา รวมถึงงูด้วยกันขนาดเล็กด้วย หากินในเวลากลางคืน มักขดนอนตามโคนกอไม้ไผ่, ป่าละเมาะ, พงหญ้าริมน้ำ เป็นงูที่ไม่ดุ ไม่ฉกกัด นอกจากจะมีคนเดินไปเหยียบหรือเดินผ่านขณะที่งูสามเหลี่ยมกำลังไล่กัดงูซึ่งเป็นอาหารก่อน งูกินปลา งูเขียว ปกติตอนกลางวันจะซึมเซา แต่ตอนกลางคืนจะว่องไว มีพิษทำลายระบบประสาทและโลหิตรวมกัน เมื่อถูกกัดจะมีอาการชักกระตุก ปวดช่องท้อง มีเลือดออกเป็นจุด ๆ ใต้ผิวหนัง มีเลือดออกตามไรฟันและไอเป็นเลือด
มีการแพร่ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ครั้งละ 8-12 ฟอง

งูเห่าหม้อ

งูเห่าหม้อ หรือ งูเห่าไทย หรือ งูเห่าดง หรือ งูเห่าปลวก (อังกฤษ: Siamese cobra, Monocled cobra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Naja kaouthia) เป็นงูพิษร้ายแรงชนิดหนึ่ง จำพวกงูเห่า อยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae)
หัวมีลักษณะกลมเรียว หางเรียวยาว มีสีสันลำตัวต่าง ๆ ทั้ง สีดำ, เขียว หรือน้ำตาลเหลืองหรือน้ำตาลเข้ม รวมทั้งเป็นสีขาวนวลปลอดตลอดทั้งตัวด้วย โดยที่มิใช่เป็นงูเผือกเรียกว่า “งูเห่านวล” (N. k. var. suphanensis Nutaphand, 1986) มีทั้งที่มีลายตามตัว และไม่มีลาย ไม่มีดอกจัน พบที่แถบจังหวัดสุพรรณบุรี[1]
ตัวผู้หัวจะทู่ใหญ่ พังพานจะแผ่กว้างเป็นวงกลม ส่วนตัวเมียหัวจะหลิมปลายจมูกเรียว พังพานแคบกว่าตัวผู้ โดยงูเห่าชนิดนี้สามารถแผ่พังพานได้กว้างกว่างูเห่าชนิดอื่น ๆ และใกล้เคียงกับงูเห่าอินเดีย (N. naja) ที่พบได้ในประเทศอินเดีย และเมื่อยกตัวชูคอแผ่พังพานได้สูงที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว เกล็ดบนหัวมีขนาดใหญ่
จัดเป็นงูเห่าที่มีขนาดใหญ่มากชนิดหนึ่ง โดยความยาวเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 100– 180 เซนติเมตร โดยขนาดยาวที่สุดที่วัดได้ของสถานเสาวภาโดยสภากาชาดไทย คือ 225 เซนติเมตร
พบกระจายพันธุ์อย่างชุกชุมในประเทศไทย โดยพบได้ทุกภาค พบชุกชุมโดยเฉพาะภาคกลาง นอกจากนี้แล้วยังพบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่อินเดีย, เนปาล, พม่า, จีน, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว ไปจนถึงแหลมมลายู ในประเทศไทยถือเป็นงูเห่าชนิดที่พบได้ชุกชุมมากที่สุด โดยมักในบริเวณที่ลุ่มค่อนข้างชื้น มักอาศัยอยู่ในจอมปลวก, ทุ่งนา หรือพบบนภูเขาที่ระดับความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ออกหากินในเวลาพลบค่ำโดยหากินตามพื้นดิน
ผสมพันธุ์ช่วงเดือนสิงหาคมถึงมกราคม วางไข่ครั้งละ 15-37 ฟอง ในช่วงเดือนตุลาคมถึงมีนาคม ระยะฟักไข่นาน 51-69 วัน (เฉลี่ย 60 วัน) เมื่อแรกเกิดมีน้ำหนัก 13.2-18.8 กรัม และความยาว 31.5 – 35.5 เซนติเมตร
กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเช่น หนู และ นก, กบ, เขียด และบางครั้งก็กินงูชนิดอื่นเป็นอาหาร

งูเห่าพ้นพิษสยาม

งูเห่าพ่นพิษสยาม (อังกฤษ: Indo-Chinese cobra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Naja siamensis) เป็นงูเห่าจำพวกงูเห่าพ่นพิษ กล่าวคือ เป็นงูเห่าที่สามารถพ่นพิษได้ โดยสามารถพ่นพิษได้ไกล ถึง 5 – 8 เมตร เมื่อพ่นน้ำพิษหมดแล้ว สามารถผลิตน้ำพิษได้ในเวลา 10 นาที ก็สามารถพ่นน้ำพิษใหม่ได้ ขณะชูคอแผ่แม่เบี้ยขู่ ก็จะอ้าปากเพื่อเตรียมพ่นพิษใส่ศัตรู จะมีรูของเขี้ยวพิษ อยู่ทางด้านหน้า เพื่อสะดวกในการฉีดพ่นพิษออกไป และถ้าพิษเข้าตา ก็จะทำให้ตาบอดได้ ถ้าถูกพิษทางผิวหนังที่มีแผล ก็จะทำให้เกิดการอักเสบ แต่ไม่อันตรายมาก เพราะได้รับปริมาณพิษน้อย
ลักษณะรูปร่างทั่วไปจะคล้ายคลึงกับงูเห่าหม้อ (N. kaouthia) แต่มีลำตัวที่สั้นกว่า โดยจะยาวเฉลี่ย2 ถึง – 3เมตร มีความว่องไว นิสัยดุร้าย ดอกจันมักเป็นรูปตัว U หรือเลือนลางในบางตัว สีลำตัวบางตัวอาจมีลายดอกด่างขาว จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า “งูเห่าพ่นพิษด่าง” หรือ “งูเห่าพ่นพิษขี้เรื้อน” เป็นต้น
งูเห่าพ่นพิษที่พบในประเทศไทยสามารถจำแนกออกเป็น ชนิดต่าง ๆ ได้ตามถิ่นที่อยู่และสีลำตัว เช่น “งูเห่าพ่นพิษสยาม” หรือ “งูเห่าพ่นพิษด่าง” (N. siamensis var. “Black & White”) , “งูเห่าพ่นพิษอีสาน” (N. siamensis var. “Greenish Brown”) ที่มีความยาวประมาณ 0.6 เมตร นับว่าเป็นงูเห่าที่มีขนาดสั้นที่สุดที่พบในประเทศไทย มีสีเขียวหม่นหรือสีเขียวอมเทาทั่วตัว ลายปรากฏไม่ชัดเจน ดอกจันเป็นรูปตัว U เห็นชัดเจนกว่างูเห่าพ่นพิษสยาม เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีชนิดที่แยกออกไปคือ งูเห่าพ่นพิษสีทอง (N. sumartra)
สำหรับในต่างประเทศ ยังมีงูเห่าพ่นพิษอีก 6 ชนิด พบได้ที่ภูมิภาคเอเชียใต้ไปจรดถึงสิงคโปร์

งูเห่าพ้นพิษสีทอง

งูเห่าพ่นพิษสีทอง (อังกฤษ: Equatorial spitting cobra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Naja sumatrana) เป็นงูเห่าชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายงูเห่าพ่นพิษสยาม (N. siamensis) และงูเห่าพ่นพิษชนิดอื่น ๆ คือมี ขนาดที่เล็กกว่างูเห่าธรรมดา (N. kaouthia) ไม่มีดอกจันที่แม่เบี้ย ไม่มีลวดลายตามลำตัว สีพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองหรือสีทองสวยงาม ท้องมีสีขาว พบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย และพบไปจนถึงมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งงูที่พบในมาเลเซียและสิงคโปร์นั้นจะมีลำตัวสีดำ ความยาวเต็มที่ 1.6 เมตร
มีชื่อเรียกอื่นอีกว่า “งูเห่าปลวก” นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน

งูจงอาง

งูจงอาง (อังกฤษ: King Cobra) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 6.5 – 8 เมตร  จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาวถึง 14 เมตร เป็นงูจงอางไทยลำตัวสีดำ ถูกยิงได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2549 น้ำหนักประมาณ 15 – 30 กิโลกรัม มีลูกตาดำและกลม หัวใหญ่กลมทู่ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า ลำตัวเรียวยาว ว่ายน้ำเก่ง มีหลายสีแต่โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว หรือลำตัวสีเขียวอมเทา สีดำ สีนํ้าตาล และสีเขียวอ่อนเกือบขาว ส่วนพบเยอะที่สุดคือ สีดำและเขียวอมเทา และ สีนํ้าตาล น้อยสุดก็สีเขียวอ่อนเกือบขาว ท้องมีสีเหลืองจนเกือบขาว มีสีแดงเกือบส้มที่บริเวณใต้คอ มีพิษ มีผลทางระบบประสาท(Neurotoxin) ที่รุนแรง พิษของงูจงอางสามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75% เนื่องจากปริมาณพิษที่ฉีดออกจากเขี้ยวพิษมีมาก งูจงอางมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แต่ถ้าไม่จวนตัวหรือถูกรุกรานก่อนจะไม่ทำร้าย อาหารของงูจงอางคืองูอื่น ๆ เช่น งูสิง งูทางมะพร้าว งูเห่า งูเหลือม งูหลาม งูน้ำ งูสามเหลี่ยม งูกินปลา งูทับสมิงคา งูเขียว และ งูจงอาง และ งูอนาคอนด้า ที่มีขนาดเล็กกว่า กบหรือตะกวดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเช่นหนู เป็นต้น
งูจงอางจัดอยู่ในสกุล Ophiophagus ซึ่งเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้ โดยมีรากศัพท์จากภาษาละตินมีความหมายว่า “กินงู” ซึ่งหมายความถึงการล่าเหยื่อของงูจงอาง เพราะงูในสกุลนี้ กินงูอื่นเป็นอาหาร พบในประเทศไทย ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีมากในป่าจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา และในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางภาคใต้มากที่สุดซึ่งในภาษาใต้เรียกว่า งูบองหลา ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะหัวของงูจงอาง
งูจงอางเป็นงูพิษที่มีลักษณะหัวกลมมน เกล็ดบริเวณส่วนหัวใหญ่ มีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ขากรรไกรด้านบน หน้าตาดุดัน จมูกทู่ มองเผิน ๆ คล้ายกับงูสิงดง ที่บริเวณขอบตาบนมีเกล็ดยื่นงองุ้มออกมา ทำให้หน้าตาของงูจงอางมองดูดุและน่ากลัว ส่วนบริเวณท่อนหางจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด มีม่านตากลม ลำคอมีขนาดสมส่วน ลำตัวขนาดใหญ่เรียวยาว แผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า งูจงอางที่ยังไม่โตเต็มวัย จะมีขนาดลำตัวเท่ากับงูเห่าดงแต่จะยาวกว่า ทำให้คนทั่วไปที่พบเห็นและไม่เคยเห็นงูจงอางมาก่อน จะเข้าใจผิดว่าเป็นงูเห่าและเรียกว่างูเห่าดง
ตามปกติจะหากินที่พื้นดินแต่ก็สามารถขึ้นต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นงูที่ใช้วิธีการฉกกัดและรัดเหยื่อไม่เป็น ซึ่งไม่สมกับขนาดของลำตัวที่เพรียวยาว ปกติจะเลื้อยช้าแต่จะมีความว่องไวและปราดเปรียวเมื่อตกใจ ถ้าพบเจอสิ่งใดแล้วไม่หยุดชูคอขึ้น จะเลื้อยผ่านไปเงียบ ๆ แต่ถ้าขดตัวเข้ามารวมเป็นกลุ่มแล้วยกหัวสูงขึ้น แสดงว่าพร้อมจู่โจมสิ่งที่พบเห็น เวลาเลื้อยหัวจะเรียบขนานไปกับพื้น แต่เมื่อตกใจหรือโกรธสามารถยกตัวขึ้นชูคอได้สูงประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดความยาวลำตัว เทียบความสูงได้ในระดับประมาณเอวของคน จังหวะที่ยกตัวชูสูงขึ้นในครั้งแรกจะมีความสูงมากและค่อย ๆ ลดลงมาอยู่ในระดับปกติตามเดิม ไม่ส่งเสียงขู่ฟ่อ ๆ เมื่อมีสิ่งใดเข้าใกล้เช่นเดียวกับงูเห่า ที่สามารถพ่นลมออกจากทางรูจมูกซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะของงูเห่า แผ่แม่เบี้ยได้เหมือนงูเห่าแต่จะแคบและไม่มีลายดอกจันที่บริเวณศีรษะด้านหลัง มีลายค่อนข้างจางพาดตามขวาง มีลักษณะเป็นบั้ง ๆ แทน
งูจงอางเป็นงูพิษที่สามารถต้านทานพิษงูชนิดอื่น ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม เช่น งูเห่า งูกะปะ เมื่อเกิดการต่อสู้และถูกกัดจะไม่ได้รับอันตรายจนถึงตาย แต่จะกัดและกินงูเหล่านั้นเป็นอาหารแทน งูจงอางมีเกล็ดพิเศษบนศีรษะจำนวน 1 คู่ อยู่บริเวณด้านหลังของเกล็ดกระหม่อม (Parietals) มีชื่อเรียกว่าOccipitals ซึ่งจะมีเฉพาะงูจงอางเท่านั้น มีถิ่นอาศัยอยู่ในป่า ไม่ปรากฏว่าพบตามสวนหรือไร่นา ทำรังและวางไข่ประมาณปีละครั้ง ครั้งละประมาณ 20 – 30 ฟอง ชอบทำรังในกอไผ่ กกและฟักไข่เองจนกว่าลูกงูจะเกิด
งูจงอางมีพฤติกรรมการฉกกัดแบบติดแน่น ไม่กัดฉกเหมือนงูเห่า จึงกัดแล้วจะย้ำเขี้ยว (lock jaw) น้ำพิษมีสีเหลืองและมีลักษณะเหนียวหนืด พิษงูทำลายประสาทเช่นเดียวกับงูเห่าแต่เกิดอาการเร็วและรุนแรงกว่า เนื่องจากมีน้ำพิษปริมาณมากเพราะงูจงอางมีขนาดโตกว่างูเห่า ผู้ถูกกัดจะมีอาการหนังตาตก ขากรรไกรแข็ง พูดไม่ชัด กลืนน้ำลายไม่ได้ แน่นหน้าอก ตาพร่า อ่อนเพลีย เป็นอัมพาต อาจตายเพราะการหายใจล้มเหลว  น้ำพิษของงูจงอางสามารถฉีดออกมาได้ถึง 380-600 มิลลิกรัมในการฉกกัดแต่ละครั้ง ซึ่งอาจมีปริมาณมากถึง 10 เท่าของงูเห่า ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ที่อันตรายคือกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจหยุดทำงาน ดังนั้นหากถูกกัดจะถึงแก่ความตายอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 15 นาที
ลักษณะทางกายวิภาค
งูจงอางเป็นงูที่มีความผันแปรในเรื่องของขนาดลำตัวและสีสันของเกล็ดอย่างชัดเจน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับแหล่งที่อยู่อาศัยและสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น งูจงอางที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบทางภาคใต้ของประเทศไทย จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่โตกว่างูจงอางในแถบภาคอื่น ๆ รวมทั้งสีของเกล็ดก็แตกต่างด้วยเช่นกัน งูจงอางในแถบภาคใต้จะมีสีน้ำตาลอมเขียวหรือสีเขียวอมเทา ลักษณะลวดลายของเกล็ดบริเวณลำตัวไม่ค่อยชัดเจน แตกต่างจากงูจงอางในแถบภาคอื่น ๆ เช่น งูจงอางในภาคเหนือ จะมีเกล็ดสีเข้มจนเกือบดำซึ่งมักจะเรียกกันว่า จงอางดำ และมีนิสัยดุร้ายกว่างูจงอางในแถบภาคใต้
ส่วนงูจงอางในแถบภาคกลางและหลายๆ จังหวัดในแถบภาคอีสาน มักจะมีสีเกล็ดเป็นลายขวั้นตามขวาง ลักษณะเป็นบั้ง ๆ เกือบตลอดทั้งตัว มีนิสัยดุร้ายเช่นเดียวกับงูจงอางแถบภาคเหนือและภาคใต้ แต่มีขนาดของลำตัวที่เล็กกว่า ว่องไวและปราดเปรียว
โดยรวมลักษณะทางกายวิภาคของงูจงอางในแต่ละภาคจะเหมือนกัน มีความแตกต่างเพียงแค่ขนาดของลำตัวเท่านั้น ซึ่งลักษณะทางกายวิภาคของงูจงอาง มีดังนี้
น้ำพิษ

ลักษณะเขี้ยวและต่อมพิษของงูจงอาง
งูพิษ หรือ งูพิษอันตราย (Dangerous Venomous Snakes) มีความหมายเหมือนกันกับคำว่า “งูที่มีความสำคัญในทางการแพทย์” (Snakes of Medical Importance) ซึ่งจะหมายความถึงงูที่มีกลไกของพิษ (Venom apparatus) และปริมาณน้ำพิษที่มีความรุนแรง ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทและระบบโลหิตต่อร่างกายของสัตว์และมนุษย์ ทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นาน ซึ่งกลไกลของพิษของงูโดยเฉพาะงูจงอาง ที่มีปริมาณพิษร้ายแรงน้อยกว่างูเห่าแต่ปริมาณน้ำพิษมากกว่า สามารถทำให้ผู้ที่ได้รับพิษเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งลักษณะกลไกพิษของงูจงอาง มีดังนี้
ต่อมผลิตพิษ
ท่อน้ำพิษ
เขี้ยวพิษ
น้ำพิษ
ส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ ของระบบพิษงูจงอาง ได้แก่
ต่อมผลิตพิษ[แก้]
ต่อมผลิตพิษ (Venom Gland) เป็นต่อมที่ทำหน้าที่สำหรับสร้างพิษงูในงูพิษที่จัดอยู่ในชั้นสูงขึ้นไป ซึ่งได้แก่งูในครอบครัว Elapidae และครอบครัว Viperidae งูจงอางจะมีต่อมพิษที่สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาการจนมีขนาดใหญ่ โดยตำแหน่งของต่อมผลิตพิษจะอยู่บริเวณหลังลูกตาทั้ง 2 ข้างในลักษณะของตำแหน่งที่เทียบได้กับกระพุ้งแก้ม
ต่อมผลิตพิษนี้จะมีอยู่ทั้ง 2 ข้างของหัวงูจงอาง ข้างละ 1 อัน โดยบนต่อมผลิตพิษจะมีกล้ามเนื้อพิเศษที่ทำการควบคุมการผลิตพิษของต่อมผลิตพิษ เพื่อเป็นการบังคับให้ต่อมผลิตพิษ บีบตัวและหลั่งน้ำพิษเมื่องูจงอางต้องการ หรือฉกกัดสิ่งที่พบเห็น
ท่อน้ำพิษ[แก้]
ท่อน้ำพิษ (Venom Duct) เป็นท่อที่มีลักษณะพิเศษที่ทำการเชื่อมต่อกันระหว่างต่อมผลิตพิษ และโคนเขี้ยวพิษของงูจงอาง มีหน้าที่ในการลำเลียงน้ำพิษจากต่อมผลิตพิษ เมื่องูจงอางบีบและหลั่งน้ำพิษไปยังเขี้ยวพิษทั้ง 2 ข้างที่ขากรรไกรด้านล้างด้วย
เขี้ยวพิษ[แก้]
เขี้ยวพิษ (Venom Fangs) เขี้ยวพิษของงูจงอาง มีลักษณะโค้งงอ มีจำนวน 2 ชุดคือ เขี้ยวพิษจริงและเขี้ยวพิษสำรอง เทียบได้กับลักษณะของเข็มฉีดยา เมื่องูจงอางฉกกัด เขี้ยวพิษจะฝังเข้าไปในเนื้อของเหยื่อหรือผู้ที่ถูกกัดและฉีดพิษเข้าสู่ร่างกายของเหยื่อ ลักษณะเขี้ยวพิษของงูจงอางจัดอยู่ในกลุ่ม Proteroglypha ซึ่งเป็นกลุ่มของงูมีพิษที่มีลักษณะเขี้ยวพิษอยู่ด้านหน้าของขากรรไกรด้านบน เขี้ยวพิษทั้ง 2 จะยึดแน่นติดกับขากรรไกรด้านบน หดพับงอเขี้ยวไม่ได้ ลักษณะของเขี้ยวพิษจะไม่ยาวนัก มีร่องตามแนวยาว (Vertical Groove) อยู่บริเวณด้านหน้าของตัวเขี้ยว จำนวน 1 ร่อง เพื่อสำหรับให้น้ำพิษจากต่อมผลิตพิษไหลผ่าน
ลักษณะปลายเขี้ยวพิษของงูจงอางจะแหลมคม เพื่อใช้สำหรับเจาะทะลุเข้าไปในบริเวณผิวหนังของเหยื่อที่ฉกกัดได้โดยง่าย งูจงอางมีเขี้ยวพิษสำรองหลายชุดซึ่งเขี้ยวสำรองจะหลบอยู่ภายในอุ้งเหงือก เมื่อเขี้ยวพิษจริงหักหรือหลุดหลังจากการฉกกัดหรือด้วยสาเหตุใดก็ตาม เขี้ยวพิษสำรองจะเลื่อนขึ้นมาแทนที่เขี้ยวพิษจริง และจะทำหน้าที่แทนเขี้ยวพิษจริงอันใหม่ต่อไป
น้ำพิษ[แก้]
น้ำพิษ (Venom) น้ำพิษของงูจงอางประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโปรตีนและไม่ใช่โปรตีน น้ำพิษของงูจงอางมีลักษณะเป็นของเหลว สีเหลืองเรื่อ ๆ ไม่มีรสและกลิ่น ส่วนประกอบของน้ำพิษที่เป็นโปรตีน จะมีโปรตีนประกอบอยู่ประมาณ 90% ของปริมาณน้ำพิษทั้งหมด และอีก 10% ที่เหลือจะเป็นส่วนที่ไม่ใช่โปรตีน
น้ำพิษของงูจงอางในส่วนที่เป็นโปรตีน สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นน้ำพิษจากต่อมผลิตพิษ (Toxin) และส่วนที่เป็นน้ำย่อย (Enzyme)
กะโหลก เขี้ยวและฟัน[แก้]

กะโหลกศีรษะของงูจงอาง
กะโหลกศีรษะของงูสามารถแยกแยะวงศ์และสกุลได้ โดยดูจากลักษณะของกะโหลก ฟันและ ขากรรไกร ซึ่งงูจงอางเป็นงูขนาดใหญ่ทำให้มีการพัฒนาร่างกายเพื่อการล่าอาหาร และกลืนเหยื่อ ทำให้กะโหลกของงูจงอางไม่เหมือนกับงูและสัตว์กินเนื้อชนิดอื่น ที่สามารถฉีกเหยื่อออกเป็นชิ้น ๆ การกินเหยื่อของงูจงอางจะใช้วิธีการขยอกเหยื่อทั้งตัว สามารถกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวของมันเองได้ เนื่องจากขากรรไกรกว้าง โดยอาจจะกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวมันได้ ได้โดยการถ่างกระดูกปากและกะโหลกออกจากกัน กะโหลกของงูจงอางถูกสร้างให้ข้างบน ข้างล่าง และกระดูกขากรรไกรสามารถเคลื่อนไปข้างหน้า ข้างหลัง และออกด้านข้างได้โดยอิสระ จากกะโหลก ขากรรไกรล่างจะไม่เชื่อมกับกับคาง สามารถออกไปข้างหน้าได้ เมื่อต้องการ ขยอกเหยื่อมาที่คอหอย
งูจงอางมีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ใหญ่และแข็งแรงกว่าฟันอื่น และมีฟันที่ข้างกรรไกรล่าง โดยจะอยู่ชั้นนอก ส่วนฟันบนชั้นใน สามารถใช้ฟันออกมางับเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว ดึงเหยื่อเข้าไปในปาก และขยอกลงไป เขี้ยวของงู จะแตกต่างจากฟันใช้ปล่อยพิษ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
Opistoglyphous หรือ Rear-Fanged
Proteroglyphous หรือ Front-Fanged
ซึ่ง Rear-Fanged Snakes จะมี 3 สายพันธุ์ ในวงศ์ของ Colubird จะมีเขี้ยว 1 คู่ ส่วน Front-Fanged Snakes คือพวก Burrowing Asps Cobra Mambaและ Kraits Cobra และ Viper Fangs
ขนาดและรูปร่าง[แก้]
งูจงอางมีลักษณะและรูปร่างที่เหมือน ๆ กัน คือมีขนาดของลำตัวใหญ่และยาว จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องของขนาด ซึ่งเกิดจากจากวิวัฒนาการของสายพันธุ์และธรรมชาติเป็นผู้กำหนด งูจงอางเป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ มีตากลมสีดำใช้สำรวจหาเหยื่อที่อยู่ในระยะไกลได้ ซึ่งการที่งูจงอางมีขนาดใหญ่ สาเหตุหลักเนื่องมาจากต้องการอาหารในการดำรงชีพมาก แต่มีข้อจำกัดด้วยขนาดตัวที่มีขนาดใหญ่ ทำให้การล่าอาหารในบางครั้งอาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก และในเรื่องการปรับอุณหภูมิในร่างกายความใหญ่ของร่างกายทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับอุณหภูมิเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมการล่า หาอาหาร และสืบพันธุ์ สามารถขึ้นต้นไม้และอาศัยความเร็วในการจู่โจมเหยื่อ โดยใช้หางในการเกาะเกี่ยวต้นไม้ ทำให้สามารถห้อยตัวลงไปดึงกิ้งก่าหรือนกจากต้นไม้ได้
สีสันของเกล็ด[แก้]

สีเกล็ดของงูจงอาง
งูจงอางมีหลายสี เกล็ดของงูจงอางจะเปลี่ยนสีโดยขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและถิ่นที่อยู่อาศัย โดยปกติทั่วไปจะเปลี่ยนสีสันของเกล็ดได้เล็กน้อย ให้กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการอำพรางตัวเองจากเหยื่อหรือศัตรู ส่วนมากเกล็ดจะมีสีน้ำตาลอ่อน เหลืองอมน้ำตาล น้ำตาลแก่อมดำ เทาอมดำ เขียวมะกอก ขาวครีมอมเหลืองอ่อน และขาวงาช้างเป็นสีสันของเกล็ดมาตรฐานของงูจงอาง
บริเวณท้องของงูจงอางจะเป็นสีอ่อน มีขอบเกล็ดสีดำลักษณะเป็นปล้องขาว มองคล้ายเส้นเล็ก ๆ ตามขวางอยู่ที่บริเวณเกล็ด เป็นระยะตลอดทั่วทั้งลำตัว ตามปกติถ้าไม่สังเกตจะมองไม่ค่อยเห็น นอกเสียจากเวลาโกรธหรือแผ่แม่เบี้ย ทำให้ลำตัวพองและขยายเกล็ดออกมา หรือเวลากลืนกินเหยื่อจนเกล็ดบริเวณท้องขยายออกจนเห็นได้ชัด ตามปกติปล้องสีขาวนี้จะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในงูจงอางตัวอ่อนที่มีขนาดเล็ก
งูจงอางเพศผู้จะมีสีสันที่แตกต่างจากงูจงอางเพศเมีย ตามปกติจะมีสีส้มแก่พาดขวางบริเวณใต้ลำคอ รอบขึ้นมาจนถึงบริเวณลำคอแล้วค่อย ๆ จางลงจนกลายเป็นสีเหลืองอ่อน เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่างูคอแดง ซึ่งจะไม่มีในงูจงอางเพศเมีย ซึ่งจะมีสีเหลืองอ่อนจนซีด สีสันของเกล็ดไม่สวยสดและเข้มเหมือนกับงูจงอางเพศผู้ ซึ่งจะมีสีเหลืองอ่อนบริเวณใต้คางและริมฝีปากล่าง ส่วนงูจงอางเพศเมียจะมีสีขาวครีม และเมื่อขดตัวตามธรรมชาติ สีสันของเกล็ดในส่วนอื่น ๆ จะมองไม่ค่อยเห็น แต่จะสามารถสังเกตเห็นสีขาวบริเวณใต้คางได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถแยกแยกได้ว่าตัวไหนเพศผู้เพศเมีย
การสืบพันธุ์[แก้]
งูจงอางสืบพันธุ์โดยการวางไข่ปีละ 1 ครั้ง โดยมีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ในราวต้นฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน วางไข่ครั้งละประมาณ 20 – 30 ฟอง มากที่สุดคือประมาณ 45 ฟอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ งูจงอางตัวผู้จะเลื้อยเข้าหางูจงอางตัวเมียที่พร้อมการผสมพันธุ์ ซึ่งในแต่ละครั้งการเข้าหางูจงอางตัวเมียนั้น งูจงอางตัวผู้หลาย ๆ ตัวจะทำการต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงงูจงอางตัวเมีย (Combat Dance)โดยวิธีการฉกกัดและใช้ลำตัวกอดรัดกัน กดให้คู่ต่อสู้ที่เพลี้ยงพล้ำอยู่ด้านล่างให้อ่อนแรงในลักษณะคล้ายกับมวยปล้ำ ผลัดกันรุกผลัดกันรับแต่จะไม่มีการฉกกัดกันจนถึงตาย เมื่องูจงอางตัวผู้ตัวใดอ่อนแรงก่อน ก็จะยอมแพ้และเลื้อยหนีไป
งูจงอางตัวเมียเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะมีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 25-70 วัน โดยทั่วไปลักษณะของไข่งูจงอาง จะมีลักษณะเป็นรูปทรงไข่หรือรูปทรงรียาว มีสีขาวถึงสีครีม เปลือกไข่ค่อนข้างนิ่มแต่ไม่แตก (Leathery) และจะมีขนเส้นเล็ก ๆ บริเวณเปลือกไข่สำหรับดูดซับความชื้นภายในรัง ไข่ของงูจงอางจะไม่ติดกันเป็นแพเหมือนกับไข่ของงูกะปะ มีขนาดประมาณ 3.50 – 6.00 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายไข่เป็ดและจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนในตอนต้นของฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม
ก่อนการวางไข่ งูจงอางตัวเมียจะใช้ลำตัวกวาดเศษใบไม้ร่วง ๆ มากองสุมกัน เพื่อทำเป็นรังสำหรับวางไข่ให้เป็นหลุมลึกเท่ากับขดหางโดยใช้ใบไม้แห้งรองพื้น และหลังจากวางไข่เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะใช้เศษใบไม้คลุมไข่อีกชั้นหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันไข่จากศัตรูอื่นเช่นมนุษย์ และจะคอยเฝ้าหวงและดูแลไข่โดยการนอนขดทับบนรังเฝ้าไข่ของมันตลอดเวลาโดยไม่ยอมออกไปหาอาหาร ซึ่งผิดกับงูชนิดอื่น ๆ ที่ส่วนมากมักจะทิ้งไข่ไว้ภายในรัง ให้ฟักออกมาเป็นตัวเองโดยไม่เหลียวแลคอยดูแลและปกป้อง งูจงอางตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ จะเป็นยามเฝ้ารังและอยู่ใกล้ ๆ บริเวณรัง ในขณะที่งูจงอางตัวเมียจะอยู่แต่ภายในรัง ซึ่งในฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่จะเป็นช่วงที่งูจงอางดุมากเป็นพิเศษ จะคอยไล่ผู้ที่เดินทางผ่านรังของมัน ส่วนงูจงอางตัวเมียจะอยู่กับไข่ภายในรัง ไม่กวดไล่
เมื่องูจงอางตัวเมียฟักไข่ จะคอยเฝ้าดูแลและรักษาไข่ที่ซ่อนอยู่ในรังเพื่อให้ปลอดภัยจากศัตรูทุกชนิด เมื่อลูกงูฟักเป็นตัวอ่อนหรืองูที่ยังไม่โตเต็มวัย พังพอนเป็นศัตรูตัวฉกาจ และมีชะมด อีเห็นและเหยี่ยวรุ้งคอยไล่ล่า นอกจากนี้ยังมีเห็บเกาะกัดดูดเลือดลูกงูจงอางอีกด้วย ลูกงูจงอางแรกฟักออกจากไข่ จะมีขนาดของลำตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โตเท่ากับนิ้วมือ โดยทั่วไปหากไม่เคยรู้จักหรือพบเห็นลูกงูจงอางมาก่อน จะเข้าใจว่าเป็นงูเขียวดอกหมากหรืองูก้านมะพร้าว เนื่องจากมองดูคล้ายคลึงกัน แต่จะมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างคือ มีความดุร้ายตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อพบเห็นสิ่งใดผิดแปลก จะแผ่แม่เบี้ยอยู่ตลอดเวลา เตรียมพร้อมการจู่โจมทันที
ถึงแม้จะเป็นเพียงลูกงูจงอางแต่พิษของมันก็สามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้ ลำตัวเป็นสีดำและมีลายสีเหลืองคาดขวางตามลำตัวเป็นระยะ ๆ เริ่มตั้งแต่ปลายหัวจนสุดปลายหาง บริเวณด้านท้องจะเป็นสีเหลืองอ่อน ซึ่งจะเปลี่ยนสีของลำตัวเมื่อลูกงูจงอางเข้าสู่ระยะของตัวเต็มวัย เมื่อมีขนาดของลำตัวประมาณ 0.8 – 1 เมตร ลูกงูจงอางเมื่อลอกคราบใหม่ ๆ จะมีสีสันของเกล็ดที่อ่อนสดใส มองดูเป็นมันเลื่อม ซึ่งจะค่อย ๆ ผันแปรสีสันของเกล็ดให้เป็นสีเข้มทั่วทั้งลำตัว ลักษณะของเกล็ดจะด้าน ที่บริเวณดวงตาจะฝ้าขาวมัว และจะลอกคราบใหม่อีกครั้ง เป็นเช่นนี้ตลอดไป
ถิ่นอาศัยและการล่าเหยื่อ
งูจงอางมีการกระจายพันธุ์ตลาดทั้งเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพื้นที่ทางตอนใต้ของเอเชียตะวันออก (ภาคใต้ของประเทศจีน) ที่ซึ่งพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก งูจงอางเป็นงูป่าโดยกำเนิดอย่างแท้จริง โดยจะอยู่กันเป็นคู่ อาศัยอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำทะเลได้ถึง 2,000 เมตร บนภูเขาหรือในป่าไม้ งูจงอางจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำลำธาร ตามบริเวณซอกหินหรือในโพรงไม้ หรือในป่าไผ่ทึบที่มีไผ่ต้นเตี้ย ๆ จำนวนมาก รวมทั้งในบริเวณป่าไม้ที่มีความชื้นแฉะที่มีความอบอุ่น และมีต้นไม้สูง ๆ หนาทึบ แต่ไม่ใช่ป่าดงดิบที่ไม่ค่อยมีแสงสว่างส่องลอดผ่านมาสู่พื้นดิน และอากาศอบชื้น งูจงอางสามารถขึ้นต้นไม้ได้เป็นอย่างดีและรวดเร็ว แต่ตามปกติแล้วมักจะอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้
งูจงอางเป็นงูที่ออกล่าเหยื่อได้ทั้งในเวลากลางวันที่มีแสงแดดไม่ร้อนจัดมากนัก และในเวลาพลบค่ำ โดยจะเลื้อยออกไปหาเหยื่อตามถิ่นอาศัยที่มีอาหารชุกชุม อาหารหลักของงูจงอางคืองูชนิดอื่น ๆ เช่น งูทางมะพร้าว งูสิงหางลายหรือแม้กระทั่งงูเหลือมตัวเล็ก ๆ ที่มีขนาดไม่โตนัก นอกจากจะกินงูด้วยกันเองแล้ว ในบางครั้งงูจงอางอาจจะกินสัตว์จำพวกตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแก เหี้ย เป็นอาหารอีกด้วย หรือแม้ในบางครั้งงูจงอางก็กินลูกงูจงอางด้วยกันเอง เคยมีผู้ยิงงูจงอางเพศผู้ได้ และเมื่อผ่าท้องออกพบลูกงูจงอางอยู่ในนั้น แสดงว่างูจงอางกินแม้กระทั่งงูจงอางด้วยกัน เพียงแต่ยังเล็กอยู่เท่านั้น แต่เมื่อโตเต็มวัยก็ยังไม่เคยพบว่างูจงอางกินงูจงอางด้วยกันเอง
การล่าเหยื่อของงูจงอางจะใช้วิธีซุ่มรอคอยเหยื่อในสถานที่ที่เหยื่ออาศัยอยู่ เมื่อเหยื่อเลื้อยหรือผ่านเข้ามาในบริเวณที่งูจงอางซุ่มดักรอคอย จะพุ่งตัวเข้ากัดที่บริเวณลำคอของเหยื่ออย่างรวดเร็ว แล้วจับกินเป็นอาหาร งูจงอางสามารถกลืนเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวของมันเองได้ทั้งตัว โดยเริ่มการบริเวณศีรษะของเหยื่อ ค่อย ๆ ขยอกเข้าไปในปากจนกระทั่งหมด และหลังจากการล่าเหยื่อเสร็จสิ้นลง งูจงอางจะต้องหาแหล่งน้ำเพื่อดื่มน้ำหลังจากที่กินเหยื่อเรียบร้อยแล้ว

งูสมิงทะเลปากเหลือง

งูสมิงทะเลปากเหลือง (อังกฤษ: Yellow-lipped sea krait; ชื่อวิทยาศาสตร์: Laticauda colubrina) เป็นงูทะเลชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทยซึ่งมีพิษร้ายแรงต่อระบบกล้ามเนื้อ
มีรูปร่างคล้ายงูสมิงทะเลปากดำ (L. aticaudata) ที่เป็นงูในสกุลเดียวกัน แต่ว่างูสมิงทะเลปากเหลืองนั้นจะมีลำตัวสีที่อ่อนกว่า ส่วนหัวและหางมีขนาดเล็กและมีลายรูปเกือกม้าสีเหลือง ตัวผู้ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 2 ฟุต ขณะที่ตัวเมียจะมีความยาวกว่า 1.5 เมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า น้ำหนักหนักได้ถึง 2 กิโลกรัม มีอุปนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง 5-6 ตัว บางครั้งอาจมีลูกงูตัวเล็ก ๆ ตามงูตัวใหญ่หรือแม่งูด้วย วางไข่บนบกเช่นเดียวกับงูสมิงทะเลปากดำ
มักอาศัยอยู่ในแนวปะการังน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ในเขตน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ถึงที่ทะเลญี่ปุ่น, อ่าวเบงกอล, อินโดนีเซีย, หมู่เกาะโซโลมอน ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ตลอดจนบางส่วนของอเมริกากลางด้วย
จากการศึกษา นักวิทยาศาสตร์พบว่า งูสมิงทะเลปากเหลืองนั้นที่มีหัวขนาดเล็กดูแลคล้ายหาง เพื่อลวงตาจากสัตว์นักล่าที่จับมันกินเป็นอาหาร เช่นปลาฉลามหรือนกทะเลชนิดต่าง ๆ งูสมิงทะเลปากเหลืองที่แนวปะการังในอินโดนีเซีย มีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ เพื่อหาอาหารในซอกหลีบปะการัง เนื่องจากเป็นงูว่ายน้ำช้าจึงไม่สามารถที่จะจับปลาที่ว่ายไปมากินได้ จึงรอปลาเล้กหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กที่ถูกปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลากะมง ไล่มา ดักรอเป็นอาหาร และถ้าปลาตัวไหนหลุดรอดออกไปก็จะตกเป็นอาหารของปลาใหญ่ทันที

งูสมิงทะเลปากดำ

งูสมิงทะเลปากดำ (อังกฤษ: Black banded sea snake, Brown-lipped sea krait; ชื่อวิทยาศาสตร์: Laticauda laticaudata) เป็นงูทะเลที่มีพิษร้ายแรงต่อระบบกล้ามเนื้อ ที่พบได้ในประเทศไทย
มีความยาวได้ถึง 2 เมตร จึงจัดเป็นทะเลที่ใหญ่ที่สุดด้วยที่พบได้ในน่านน้ำไทย ลำตัวเป็นสีเทา หรือเทาเหลืองลายเป็นปล้องหรือลักษณะคล้ายชายธงขว้างตามตัว หัวมีขนาดเล็ก ส่วนหางเล็กเหมือนส่วนหัว ใช้สำหรับว่ายน้ำ ปกติจะใช้ชีวิตอยู่ในทะเลตลอดทั้งชีวิต แต่ก็สามารถคลานขึ้นมาบนชายหาดได้บ้าง เพราะมีเกล็ดส่วนท้องมีค่อนข้างกว้างอย่างน้อยประมาณครึ่งหนึ่งของความกว้างลำตัว สามารถใช้คลานได้ โดยมักอาศัยหากินปลาตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่งที่เป็นบริเวณน้ำตื้น
แต่เมื่อวางไข่จะขึ้นมาวางไข่บนบกในที่ ๆ เงียบสงบ เช่น ในโพรงถ้ำ โดยในน่านน้ำไทยจะพบที่อ่าวไทย สำหรับในต่างประเทศพบได้ที่ศรีลังกา, พม่า,อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, โพลินีเซีย, ฟิจิ, ไต้หวัน, อ่าวเบงกอล, ปาปัวนิวกินี, นิวแคลิโดเนีย, หมู่เกาะโซโลมอน

งูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์

งูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์ (อังกฤษ: Faint-banded sea snake, Belcher’s sea snake; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hydrophis belcheri) เป็นงูชนิดหนึ่ง จำพวกงูทะเล ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae)
งูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์ มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 0.5-1 เมตร (ประมาณ 20-40 นิ้ว) ความยาวของผู้ใหญ่ มีลำปล้องสีเข้มตัดสลับกันไปทั้งตลอดลำตัว
งูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์กระจายพันธุ์ทั่วในมหาสมุทรอินเดีย, ทะเลฟิลิปปิน, อ่าวไทย, นิวกินี จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยถือว่าเป็นงูพิษที่มีพิษร้ายแรงมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีพิษรุนแรงกว่างูไทปันโพ้นทะเล (Oxyuranus microlepidotus) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกันถึง 100 เท่า โดยมีการประมาณกันว่า พิษเพียงน้อยนิดของงูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์สามารถฆ่ามนุษย์ได้มากกว่า 1,000 ราย แต่โอกาสที่มีผู้ถูกกัดนั้นน้อยมาก เพราะตามธรรมชาติแล้วงูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์มีนิสัยขี้อาย หาตัวยาก และปล่อยพิษในปริมาณที่น้อย มีเพียงชาวประมงโชคร้ายบางรายเท่านั้นที่โดนงูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์ที่ติดอวนขึ้นมากัดเข้า และถ้าโชคร้ายหากถูกปล่อยพิษออกมา โอกาสรอดชีวิตนั้นมีน้อยมาก ผู้ที่โดนกัดจะมีอาการทางระบบกล้ามเนื้อเริ่มจากปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นอัมพาตและมักเสียชีวิตจากอาการไตวาย

งูแมวเซา

ลักษณะ
เป็นงูที่มีรูปร่างอ้วนป้อม ลำตัวสั้น หางสั้น เวลาตกใจหรือถูกรบกวนมักขดตัวเตรียมสู้และระวังตัว พร้อมทั้งทำเสียงขู่คล้ายแมวหรือเสียงของยางรถยนต์รั่ว โดยการสูบลมเข้าไปในตัวจนตัวพอง แล้วพ่นลมออกมาทางรูจมูกแรง ๆ แทนที่จะเลื้อยหนี เป็นงูที่ฉกกัดได้รวดเร็วแทบไม่ทันตั้งตัวทั้ง ๆ ที่ขดตัวอยู่ในลักษณะปกติ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนอมเทา มีเกล็ดสีชมพูแซมบริเวณสีข้าง มีลายลักษณะทรงกลมสีน้ำตาลเข้มตลอดทั้งตัว เกล็ดมีขนาดเล็กและมีสัน หัวเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมและมีลายดำคล้ายลูกธนู มีเกล็ดเล็กละเอียดบนหัว เขี้ยวพิษมีความยาว
สามารถโตเต็มที่ได้ 120-166 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในวงกว้าง ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออก ในภาคใต้ของจีนจรดเกาะไต้หวัน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกตั้งชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติแก่ แพทริก รัสเซลล์ นักฟิสิกส์และนักธรรมชาติวิทยาชาวสกอตแลนด์
พฤติกรรมและความร้ายแรงของพิษ

ส่วนหัวของงูแมวเซา
มีพฤติกรรมชอบอยู่ตามที่ราบแห้ง ๆ เชิงเขาที่เป็นดินปนทราย ตามที่ดอน หรือซ่อนตัวในซอกหิน โพรงดิน ใต้กอหญ้าใหญ่ ๆ ไม่ชอบย้ายที่อยู่บ่อย ๆ ปกติไม่เลื้อยขึ้นต้นไม้ ออกหากินไม่ไกลจากที่อยู่ เป็นงูที่มีความเชื่องช้าไม่ปราดเปรียว มีอุปนิสัยดุ เมื่อถูกรบกวนจะส่งเสียงขู่ ชอบความเย็น แต่ไม่ชอบน้ำ มักออกหากินในเวลากลางคืน แต่ในสถานที่ที่มีความเย็น ก็อาจออกหากินในเวลากลางวันด้วย สำหรับในประเทศไทย พบได้ชุกชุมที่สุดคือแถบจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออก กินอาหาร จำพวกหนูหรือสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละประมาณ 20-30 ตัว (สูงสุด 63 ตัว) โดยจะผสมพันธุ์ช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม และไปออกลูกช่วงฤดูร้อน ลูกงูแรกเกิดมีน้ำหนัก 7.2– 14.4 กรัม และความยาวโดยเฉลี่ย 24-30 เซนติเมตร
เป็นงูที่มีพิษต่อผลการแข็งตัวของเลือด Factor X และ Factor V โดยตรง โดยจะไปกระตุ้น prothrombin เป็นthrombin ซึ่งทำให้เกิดการสลายไฟบริโนเจนเป็นไฟบรินในกระแสเลือด จึงทำให้เกิดเลือดออกง่าย เนื่องจากองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด ถูกใช้หมดไป นอกจากนี้แล้วพิษของงูแมวเซายังมีผลต่อไต ทำให้เกิดอาการไตวายได้ และยังมีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยตรง โดยอาการของผู้ที่ถูกกัดจะแสดงออกดังนี้ คือ มีอาการปวดและมีอาการบวมมาก อาการบวมเกิดเกิดขึ้นได้ภายใน 2-3 นาทีภายหลังถูกกัด มักจะมีรอยเขี้ยว 2 จุดซึ่งมีเลือดไหลออกตลอดเวลา และบริเวณรอบแผลจะมีสีคล้ำบริเวณโดยรอบเขี้ยวจะบวมอย่างชัดเจนภายใน 15-20 นาที และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งบริเวณที่ถูกกัดบวมหมดภายในเวลา 12-24 ชั่วโมง และอาจเริ่มพองและมีเลือดออก ผู้ที่ได้รับพิษมากจะมีอาการของเลือดออกง่ายภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง เช่น เลือดออกเป็นจ้ำ ๆ บริเวณผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน ไอมีเสมหะปนเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด เลือดออกจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งความดันโลหิตต่ำ ไตวายและเสียชีวิตลงในที่สุด

งูกะปะ

งูกะปะ (อังกฤษ: Malayan pit viper) เป็นงูพิษที่มีพิษรุนแรงมาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calloselasma rhodostoma จัดเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Calloselasma โดยไม่มีชนิดย่อย
ลักษณะหัวเป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ลำตัวอ้วน หางเรียวสั้น มีลายเป็นรูปเหมือนหลังคาบ้านอยู่ด้านข้างตลอดลำตัว มีสีเทาอมชมพูลายสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดมีขนาดใหญ่ จะงอยปากงอนขึ้นข้างบน หากินเวลาพลบค่ำและกลางคืน โดยเฉพาะในเวลาที่มีความชื้นในอากาศสูง เช่น หลังฝนตก ชอบอาศัยในดินปนทรายที่มีใบไม้หรือเศษซากไม้ทับถมกันเพื่อซ่อนตัว เป็นงูที่ไม่ปราดเปรียว เวลาตกใจจะงอตัวหรือขดนิ่ง แต่ฉกกัดรวดเร็วมาก กินอาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, นก หรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตร ออกไข่ครั้งละ 10-20 ฟองในตัวที่มีสีคล้ำเรียกว่า “งูปะบุก”
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีนไปจนถึงแหลมมลายู สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แต่จะพบมากที่สุดในภาคใต้ เป็นงูที่ปรับตัวให้อาศัยอยู่ในพื้น ๆ ที่มีการทำเกษตรกรรมได้ เช่น สวนยางพาราหรือสวนปาล์มน้ำมัน จึงมักจะมีผู้ถูกกัดอยู่บ่อย ๆ นับเป็นงูพิษที่มีอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุดที่พบในประเทศไทย ซึ่งพิษของงูกะปะนั้นมีผลต่อระบบประสาท เมื่อถูกกัดภายใน 10 นาทีหลังบริเวณรอบแผลที่ถูกกัดจะบวมขึ้นย่างรวดเร็วจนกระทั่งแขนหรือขาข้างนั้นบวมไปหมดภายใน 1 ชั่วโมง โดยในรอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลตลอดเวลา บริเวณแขนขาที่บวมจะมีสีเขียวคล้ำ ผิวหนังเกิดพองตอนแรกมีน้ำใสต่อมาภายหลังมีเลือด ภายหลังถูกกัดไม่กี่วันรอยเขี้ยวจะเกิดการเน่า ทำให้ผิวหนังมีเลือดออกเป็นรอยคล้ำ เลือดออกทางเดินอาหาร ผู้ที่โดนกัดจะเสียชีวิตได้จากความดันโลหิตต่ำ

งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง

งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (อังกฤษ: Green pit viper) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ลำตัวสีเขียวอมเหลืองสด บนตัวสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงชัดเจน ท้องเหลืองหรือขาว งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง ปกติเลื้อยช้าๆไม่รวดเร็ว มีนิสัยดุ สามารถจะฉกศรัตรูเมื่อศัตรูเข้าใกล้ได้อย่างรวดเร็ว ชอบนอนขดอยู่ตามพุ่มไม้เตี้ยๆ กอหญ้า กระถางต้นไม้ขณะเกาะนอนบนไม้ จะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งตามพื้นดินที่มีหญ้ารกๆ และบนต้นไม้ ชอบกินหนู กบ เขียด เป็นอาหาร ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 7-15 ตัว พบงูหางเขียวไหม้ท้องเหลืองชุกชุมในจังหวัดภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรีกาญจนบุรี อ่างทอง นอกจากประเทศไทยแล้วยังพบในอินเดีย จีน พม่า และ ศรีลังกา

งูเขียวหางไหม้ลายเสือ

งูเขียวหางไหม้ลายเสือ หรือ งูพังกา (อังกฤษ: Shore pit viper, Mangrove pit viper หรือ Mangrove viper) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง มีพิษอ่อน เมื่อเข้าใกล้จะสั่นหางขู่และฉกกัดอย่างรวดเร็ว ออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยบนต้นไม้เป็นพุ่มเตี้ยๆ ตามป่าชายเลน หรือตามริมฝั่งคลองที่ติดกับทะเล พบในประเทศอินเดีย (รัฐอัสสัม, หมู่เกาะอันดามัน), ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศพม่า, ประเทศไทย, มาเลเซียตะวันตก, ประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศอินโดนีเซีย(เกาะสุมาตรา)

ลักษณะ
เป็นงูขนาดค่อนข้างใหญ่ หัวโตรูปสามเหลี่ยม คอเล็กกว่าหัวและลำตัว ลำตัวอ้วน หัวและลำตัวมีสีเหลืองค่อนข้างซีด บนหัวมีจุดสีดำกระจายทั่วไป ลำตัวมีลายสีดำเป็นแนวกว้างพาดขวาง ระยะไม่แน่นอนจากคอถึงหาง ข้างลำตัวมีลายสีดำเล็กๆ กระจายทั่วไป ท้องสีขาวขอบเกล็ดสีดำ จากลักษณะของลวดลายและสีบนลำตัว ตัวเมียมีขนาดใหญ่และยาวกว่าตัวผู้ ตัวผู้ยาวประมาณ 66.5 ซม. หางยาว 12.5 ซม. ตัวเมียยาวประมาณ 90 ซม. หางยาว 14 ซม. ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 7 -14 ตัว

งูหางแฮ่มกาญจน์

งูหางแฮ่มกาญจน์ (อังกฤษ: Kanburi pitviper[2], Kanburian pit viper, Tiger pit viper) เป็นงูที่มีพิษที่มีขนาดใหญ่อยู่ในสกุลเดียวกันกับงูเขียวหางไหม้วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง อาศัยในบริเวณที่ชุ่มชื้นและป่าชายเลน พบในในประเทศไทย บริเวณเขตจังหวัดกาญจนบุรี เลย และระนอง
ลักษณะ
มีขนาดยาวประมาณ 70 เซนติเมตร (หัว 4.5 ซม. ตัว 54.5 ซม. หาง 11.5 ซม.) ลำตัวสีน้ำตาลไหม้ มีลายสีน้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ๆ บนหลังข้างลำตัวเป็นลายสลับระหว่างสีน้ำตลเข้มกับสีเหลืองหม่น หัวสีน้ำตาลไหม้ ริมฝีปากบนสีเหลือง ท้องขาวมีลายประสีน้ำตาลออ่น ออกลูกครั้งละ 8-15 ตัว ลูกงูสีจะสดใสกว่า บริเวณลายจะเป็นสีน้ำตาลอมชมพู หรือน้ำตาลออ่นสลับกับเหลืองอมเขียว

งูปาล์ม

งูปาล์ม หรือ งูเขียวปาล์ม หรือ งูปาล์มแดง (อังกฤษ: Palm pit viper, Javanese pit viper, Flat-nosed pit viper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Trimeresurus puniceus) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ในจำพวกงูเขียวหางไหม้
งูปาล์ม เป็นงูเขียวหางไหม้ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร มีสีและลวดลายปะปนกันหลายสี มีสีพื้นสีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำตาลอมแดง มีจุดประสีขาว ส่วนท้องสีน้ำตาลม่วง มีสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากงูเขียวหางไหม้ชนิดอื่น คือ มีเกล็ดจมูกเชิดงอนขึ้น เกล็ดบนตาแหลมสูงทำให้แลดูเด่นชัด ไม่เหมือนงูเขียวหางไหม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งในครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของสีลวดลายหรือเป็นความแตกต่างระหว่างเพศของตัวผู้และตัวเมียของงูที่พบในเขตประเทศมาเลเซียและไม่พบในประเทศไทย แต่เมื่อนำมาเลี้ยงดูและศึกษาแล้วพบว่ามีลักษณะเช่นนี้เหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมียงูปาล์ม เดิมเคยเชื่อว่าเป็นงูถิ่นเดียวที่พบได้เฉพาะในภาคใต้ของไทย พบครั้งแรกโดยเกาะพาดอยู่กลางป่าหวาย ที่อำเภอท่าฉางเขตติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้ชื่อว่า “งูปาล์ม” และได้ให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trimeresurus wiroti เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ น.อ.(พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวไทย แต่แท้จริงแล้ว งูปาล์มพบได้ทั่วไปตั้งแต่ภาคใต้ของไทยไปจนถึงมาเลเซียตะวันออกและอินโดนีเซีย โดยตัวอย่างต้นแบบแรกพบที่เกาะชวา โดยที่ไม่มีชนิดย่อย

งูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลา มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Bungarus candidus มีลักษณะลำตัวค่อนข้างใหญ่ มีหัวยาวและแบน ส่วนของหัวกว้างใกล้เคียงกับลำคอ แต่มีดวงตาค่อนข้างเล็ก ตรงกลางของหลังเป็นสันไม่สูงมาก ส่วนหางจะสั้นและส่วนปลายของหางจะมีลักษณะเรียว ผิวหนังตามลำตัวมีเกล็ดปกคลุม เกล็ดบนหัวเป็นแผ่นกว้าง เกล็ดบนหลังและทางด้านบนของหางมีพื้นผิวเรียบ เกล็ดท้องขยายกว้าง เกล็ดใต้หางเป็นแถวเดี่ยว ลำตัวมีด้านบนของหัวสีดำหรือสีเทาเข้ม ขอบปากบนสีขาวแต่แผ่นเกล็ดมีขอบสีดำบนหลัง และด้านบนของหางมีปื้นใหญ่สีดำรูปอานม้าที่มีส่วนกว้างที่สุดอยู่บนหลัง และเรียวแคบลงไปทางส่วนล่างของลำตัว (หรือที่ขอบเกล็ดท้อง) ปื้นสีดำดังกล่าวนี้ที่ส่วนต้นของลำตัวยาวกว่าที่อยู่ทางด้านท้ายของลำตัว แต่ถ้ามองจากทางด้านบนของลำตัวลงไปหรือมองจากด้านข้างของลำตัวจะเป็นปล้องสีดำสลับกับปล้องสีขาว ชาวบ้านหลายพื้นที่มีความเชื่อว่า งูสามเหลี่ยมที่มีลำตัวเป็นปล้องสีเหลืองกับสีดำเป็นงูเพศผู้ และงูทับสมิงคลาที่มีลำตัวเป็นปล้องสีขาวกับสีดำเป็นงูเพศเมีย

การแพร่กระจายพันธุ์ของงูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลาได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ในประเทศเวียดนาม กัมพูชา มาเลย์เซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และในประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบงูทับสมิงคลาได้ทั่วทุกภาคของประเทศ

นิสัยของงูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลาจะชอบออกหากินในเวลากลางคืน ตามพื้นล่างของป่าที่ใกล้ลำห้วยหรือในพื้นที่ห่างไกลจากลำห้วยแต่มีความชุ่มชื้น ส่วนเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวอยู่ใต้ขอนไม้หรือในโพรง งูทับสมิงคลาเป็นงูที่มีพิษรุนแรง พิษจะทำลายระบบประสาทและระบบโลหิต มีนิสัยดุ เมื่อถูกกัดจะมีอาการชักกระตุก ปวดช่องท้อง มีเลือดออกเป็นจุด ๆ ใต้ผิวหนัง และมีเลือดออกตามไรฟัน รวมถึงไอเป็นเลือด

งูกระ

ความยาวทั้งตัว 1.5 เมตร ลำตัวสีน้ำตาลอมเขียวมะกอก มีแต้มหรือจุดดำเรียงเป็นแถวตามแนวสันหลังตลอดตัวขนาบด้วยบริเวณที่สีอ่อนกว่า ด้านข้างลำตัวมีจุดหรือแถบในแนวดิ่งแตะกับจุดเล็ก ๆ สีครีมทางบริเวณที่ต่ำสุดของสีข้าง เรียงเป็นแนวยาวตลอดตัว บนหัวมีจุดดำขอบจางมากบ้างน้อยบ้าง แถบดำที่คอและขอบปากขาว ร่องเกล็ดขอบปากดำ เกล็ดตามตัวเรียบ ที่กึ่งกลางตัวมี 23 แถว หัวโต รูม่านตารีในแนวดิ่ง

งูเขียวบอน
Green Cat Snake
Boiga cyanea, Dunieril, Bibron and Dumeril
งูเขียวบอน ขนาดยาว 712 ม.ม. (หัว 35 ม.ม. ตัว 207 ม.ม. หาง172ม.ม.) เมื่อยังเป็นลูกงูตัวเล็ก ๆ สีน้ำตาลเหลือง ลายนํ้าตาล ในปากดำ เมื่อโตสีจึงค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มทั้งตัว ไม่มีลาย ตาเขียวใส ท้องเขียวอ่อน เขี้ยวพิษในลักษณะ Opisthoglypha อาการผู้ถูกกัดเหมือนกับงูปล้องทอง (B.dendrophila) ออกหากินกลางคืน อาหารที่ชอบคือ กิ้งก่า หนู นก
มีทุกภาคของไทย มักเป็นบริเวณป่าชายเขาที่มีลำนํ้ามาก ๆ เช่น ลำปาง เพชรบูรณ์ ร้อยเอ็ด นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และจังหวัดทางภาคใต้ นอกจากในประเทศไทยมีใน อัสสัม สิกขิม พม่า มาเลเซีย

งูต้องไฟ
Red Cat Snake
Boiga nigriceps, Gunther
เป็นงูที่มีสีสวยสดุดตา สีแดงทั้งตัว บางตัวแดงเข้ม บางตัวแดงส้ม บางตัวนํ้าตาลแดง หัวมักมีสีเข้ม ส่วนใหญ่จะเป็นสีนํ้าตาลแดงเข้มหรือเขียวคลํ้า ท้องสีชมพูหรือนํ้าตาลเหลือง ทั้งที่เมื่อยังเป็นลูกงูและตัวโตแล้ว สีเหมือนกัน บางตัวมีจุดดำเล็กที่ข้างตัวบริเวณริมปากมักเป็นสีอ่อนหรือสี ขาวนวล ใต้คางขาว
พบมากทางภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส นอกจากในประเทศไทยแล้ว มีในมาเลเซีย ชวาและบอร์เนียว
งูต้องไฟมีลักษณะของงูสกุล Boiga คือ หัวโต ตาโต คอเล็ก ตัวยาว หางยาว จากตัวอย่างงูต้องไฟที่มีขนาดใหญ่ตัวหนึ่งวัดได้ความยาว 1,757 ม.ม.(หัว 37 ม.ม. ตัว 1,280 ม.ม. หาง 440 ม.ม.) เกล็ดเรียบไม่มีสันเกล็ด มีเขี้ยวพิษในลักษณะOpisthoglypha ผู้ถูกกัดมีอาการปวดบวมเล็กน้อย มีอาการน้อยกว่างูปล้องทอง (B. dendrophila) แต่โดยปกติก็จะไม่กัด เพราะไม่ดุ เคยเที่ยวหาจับงูชนิดนี้ด้วยตนเอง ตามป่าคาสูง ๆ เมื่อพบก็จะเดินเข้าไปจับ สาวตัวมาด้วยมือเปล่าเบา ๆ แล้วใส่ถุงผ้า นำมาเลี้ยง เป็นงูออกหากินกลางคืน กินกิ้งก่า นกเล็ก ๆ หนูเล็ก ๆ

 

 

งูแซ่หางม้า
เป็นงูในสกุลงูตาแมว (Boiga) ที่มีขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งมีขนาด ยาว 2,192 ม.ม. (หัว 42 ม.ม. ตัว 1,650 ม.ม. หาง 500 ม.ม.)หัวมนโต ตาโปนโต ตัวยาวมาก ตัวผอมแบนทางตั้ง หางเรียวยาวเป็นพิเศษ ลักษณะของหาง เหมือนแซ่ที่ทำด้วยขนหางม้า งูชนิดนี้จึงถูกเรียกว่า “งูแซ่หางม้า” ลักษณะของกระโหลกและเขี้ยวเป็นลักษณะ Opisthoglypha แต่ฟันหน้าของงูแซ่หางม้ามีลักษณะยาวคล้ายเขี้ยว จึงเรียกว่า “Dog-Toothed” ผู้ถูกกัดจะปวดและบวมเล็กน้อยเท่านั้น นิสัยไม่ดุ ออกหากินกลางคืน กินนก หนู แต่อาหารที่ชอบมาก คือ ไข่นก และไข่ไก่ มักพบแอบเลื้อยเข้ามาขโมยไข่ไก่ในเล้าไก่ของชาวบ้านไร่เสมอ สามารถอมเขมือบไข่ฟองโต ๆ ได้อย่างสบาย กินแล้วไม่คายเปลือก จะย่อยทั้งเปลือกในท้องใช้ประโยชน์ทั้งหมด ไม่เหมือนงูกินไข่ในเอฟริกา ซึ่งเขมือบขบไข่แตก กินไข่แล้วขยอกเปลือกไข่ทิ้ง
งูแซ่หางม้ามีลวดลายแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่มักหัวสีน้ำตาล คางเหลืองหรือนํ้าตาลนวล ตัวสีนํ้าตาลอ่อน ลายนํ้าตาลเข้มและดำลายเข้มหรือดำจะถี่เข้าเมื่อเป็นบริเวณหาง จนดูคล้ายหางดำ ลายปรากฏไม่แน่นอน บางตัวลายปื้นใหญ่ บางตัวลายประเล็ก ๆ บางตัวลายมีน้อย บางตัวลายมาก งูชนิดนี้วางไข่ครั้งละ 5-10 ฟอง ลูกงูตัวเล็ก ๆ มีสีและลวดลายเหมือนกับตัวโต พบมากทางภาคตะวันออก คือ จันทบุรี และตราด ทางภาคใต้ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ลงไป นอกจากในประเทศไทยแล้ว มีในพม่า กัมพูชา ลาว มาเลเซีย จนถึงฟิลิปปินส์

งูแซ่หางม้าเทา
Gray Cat Snake
Boiga cynodon siamensis, Taylor
เป็นงูที่มีรูปลักษณะเหมือนกับงูแซ่หางม้า แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ยาว 1,014 ม.ม. (หัว 28 ม.ม. ตัว 702 มม. หาง 284 ม.ม.) ฟันหน้าไม่ยาวเหมือนงูแซ่หางม้า ทั้งตัวและตัวสีเทาอ่อน มีลายดำ หรือเทาเข้มเล็ก ๆ ด้านข้างหัวมีขีดสีดำ
พบในจังหวัดภาคตะวันตกของไทย เช่น กาญจนบุรี ราชบุรี งูชนิดนี้ยังไม่มีผู้นำมาพิจารณากำหนดความแตกต่างละเอียดไว้เป็นหลักฐานแน่นอน แต่เห็นว่ามีความแตกต่างจากงูแซ่หางม้าและงูแซ่หางม้าดำ ในเรื่องขนาด สีและลวดลาย ลักษณะฟัน และลักษณะเกล็ดหัวบางชิ้น (จากการพิจารณาตัวอย่างหลายตัว) จึงได้นำลงแยกไว้ต่างหากเป็นชนิด ย่อยอีกชนิดหนึ่ง

งูหมอก
Mock False Viper
Psamodynastes pulverutenius, Boie
เป็นงูขนาดเล็ก ขนาดยาว 461 ม.ม. (หัว 23 ม.ม. ตัว 354 ม.ม. หาง 84 ม.ม.) หัวเรียว หางสั้น เกล็ดเรียบ มีเขี้ยวพิษยาวคล้ายเขี้ยวพิษในลักษณะของ Opisthoglypha นอกจากนั้นยังมีฟันคู่ในสุดใหญ่กว่าเขี้ยว ไม่ดุ อำนาจพิษสามารถฆ่าสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิ้งก่าเล็กที่ชอบหากินเป็นอาหารได้ภายในเวลารวดเร็ว แต่มีรายงานและเท่าที่มีผู้ถูกกัดปรากฏพิษไม่มีอันตรายต่อมนุษย์
งูหมอกชอบออกหากินตามพื้นดินและพุ่มไม้เตี้ย ในเวลาตอนเช้าที่อากาศเย็น นํ้าค้างยังไม่แห้ง แดดยังไม่ร้อนแรง พบทุกภาคของไทย เช่น เชียงใหม่ ลพบุรี ปราจีนบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี แพร่ หนองคาย นครศรีธรรมราช นราธิวาส นอกจากประเทศไทยมีในอินโดจีน จีน อินเดีย พม่า มาเลเซีย จนถึงพิลิปปินส์
งูหมอกสีนํ้าตาลไหม้ นํ้าตาลอมเหลือง บนหัวมีลายดำ ปากขาวนวล หรือชมพูอ่อน ต่อจากทางขาวนวลที่ปากจะเป็นจุดขาวเว้นเป็นระยะ ๆ มาที่คอและลำตัวส่วนต้น บางตัวมีจุดขาวตามข้างลำตัว ท้องสีนํ้าตาล อ่อนหรีอชมพู

งูเขียวร่อน
Flying Snake
Cluysopelea paradisi, Boie
งูเขียวร่อนเป็นงูที่คู่กับงูเขียวพระอินทร์ จนบางคนเรียกว่า “งูพระอินทร์ร่อน” สามารถกางกระดูกซี่โครง ทำตัวแผ่กว้างแล้วพุ่งตัวร่อนไประหว่างต้นไม่ได้ ส่วนมากที่พบจะมีขนาดเล็กกว่างูเขียวพระอินทร์เล็กน้อย พบชุกชุมทางจังหวัดภาคใต้ของไทย แม้ตามเกาะต่าง ๆ เช่น ภูเก็ต
งูเขียวร่อนหัวสีดำสลับสีแสดหรือสีส้ม(บริเวณสีแสดคือสีดำของงู เขียวพระอินทร์) บริเวณกลางหลังจะมีเกล็ดสีล้มหรือแสดเป็นกลุ่มระยะ ๆ ตั้งแต่คอจนประมาณกลางตัว สีของตัวจะดูเป็นสีดำกว่างูเขียวพระอินทร์ เพราะแต่ละเกล็ดของงูเขียวร่อน มีสีดำมาก โดยเฉพาะบริเวณหลังและหาง แต่ละเกล็ดสีดำมากจนเหลือสีเขียวสดเป็นจุดกลางเกล็ดเท่านั้น ใต้คางขาว ท้องเหลืองเขียว นอกจากในไทยมีในมาเลเซีย ชวา สุมาตรา บอร์เนียว จนถึงฟิลิป ปินส์

งูดอกหมากแดง
Barred Tree Snake
Cluysopelea pelias, Linnaeus
งูดอกหมากแดงเป็นชนิดที่หายาก พบเฉพาะทางภาคใต้เขตติดต่อกับมาเลเซีย เป็นงูสกุลเดียวกับงูเขียวพระอินทร์ (Chrysopetea) รูปลักษณะและ อุปนิสัยเหมือนกัน แต่มีขนาดเล็กกว่า และเป็นชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุดในจำนวน 3 ชนิดที่มีในประเทศไทย งูดอกหมากแดงยาว 543 ม.ม. (หัว 24 ม.ม. ตัว 356 ม.ม. หาง 163 ม.ม.) สีสวยมาก หัวสีนํ้าตาลไหม้ มีลายคาดสีแสด หรือส้ม คอแดง ตัวสีนํ้าตาลเข้ม มีลายขวั้นเป็นระยะ ๆ สีดำ และมีสีส้มอยู่กลาง
งูดอกหมากแดงมีเขี้ยวพิษในลักษณะ Opisthoqlyphaแต่เขี้ยวพิษ หลังเล็กมากเกือบไม่เห็นแตกต่างกับฟัน อำนาจพิษไม่ทราบผลเพราะ ไม่ทราบผู้ถูกกัด แต่คงเช่นเดียวกับงูเขียวพระอินทร์

งูม่านทอง
Stripe Rainbow Snake
Psammophis condernarus, Merrem
งูม่านทองเป็นงูขนาดเล็ก ยาวประมาณ 430 ม.ม. (หัว 22 ม.ม. ตัว 266 ม.ม. หาง 142 ม.ม.) มีสีและลวดลายสวยมาก ตัวสีนวล ลายสีนํ้าตาล ท้องขาว ลายยาวตามความยาวของตัว หัวเรียว เกล็ดตัวเรียบเป็นมัน มีนิสัยไม่ดุ จับมาเล่นก็ไม่เคยกัดใคร มีเขี้ยวพิษในลักษณะ Opisthoglypha พิษปรากฎต่อสัตว์อาหาร เช่น กิ่งก่า เขียด เท่านั้น ไม่มีปฏิกิริยาต่อมนุษย์
ไม่ค่อยพบทางภาคใต้ พบทั่วไปในภาคอื่น ๆ ของไทย นอกจากไทยมีในพม่า

งูปากกว้างน้ำเค็ม
Fishing Solt-Water Snake
Cerberus rhynchops, Schneider
มีชุกชุมในจังหวัดชายทะเล ชอบอาศัยตามป่าเลนชายทะเล กิน ปลา กุ้ง เขียดนํ้าเค็ม ตัวสีเขียวอมเทา หรือสีเทา มีลายเลือน ๆ ท้องขาว เป็นที่รู้จักกันดีของชาวบ้านชายทะเล มีนิสัยดุ มีเขี้ยวพิษในลักษณะ Opisthoglypha มีพิษเพียงเล็กน้อย ไม่มีปฏิกิริยาเป็นอันตรายต่อมนุษย์
งูปากกว้างน้ำเค็ม ยาวประมาณ 588 ม.ม. (หัว 28 ม.ม. ตัว 337 ม.ม. หาง 223 ม.ม.) นอกจากในไทย มีในอินเดีย พม่า ซีลอน มาเลเซีย

 

 

งูสายรุ้ง
Rainbow Water Snake
Enhydris enhydris, Schneider
งูสายรุ้งมีจำนวนมากที่สุดในสกุลงูสายรุ้ง (Enhydris) ชนิดต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 384 ม.ม. (หัว 23 ม.ม. ตัว 249 ม.ม. หาง 112 ม.ม.) เป็นงูที่ไม่ดุ ไม่กัด สีสวย หลังลายนํ้าตาลแก่สลับนํ้าตาลอ่อน ข้างตัวลายชมพูสลับเหลืองยาวตามตัวตั้งแต่หัวจนถึงโคนหาง ท้องขาว กินปลาเล็ก ๆ จึงชอบหากินในนํ้า แต่ปกติจะอาศัยตามบริเวณชื้นริมนํ้า ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 15-20 ตัว ลูกเกิดใหม่สีชมพูลายแดง มีเขี้ยวพิษลักษณะ Opisthoglyphaพิษไม่มีอันตรายต่อมนุษย์
พบทั่วไปทุกภาคของไทย นอกจากไทยมีในอินเดีย จีน พม่า อินโด จีน มาเลเซีย

งูสายรุ้งดำ
Black Rainbow Water Snake
Enhydrh smithi, Boulenger
เป็นงูในสกุลงูสายรุ้ง (Enhydris) แต่พบจำนวนน้อยเท่าที่เคยได้ ๆในภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ทางภาคใต้พบเพียงถึงประจวบคีรีขันธ์ ยังไม่เคยได้ตัวอย่างจากทางภาคอื่น ๆ
งูสายรุ้งดำตัวอ้วนสั้น ขนาดยาว 265 ม.ม. (หัว 16 ม.ม. ตัว 171 ม.ม. หาง 78 ม.ม.) ชอบอาศัยตามพื้นเลนใต้นํ้า ไม่ปราดเปรียว ไม่ดุ ไม่กัด ตัวสีดำลายคล้ายตาข่ายสีเทา ลายสีเทาจะอ่อนลงจนเกือบขาวที่บริเวณ ข้างตัว หางดำลายขวั้นสีขาว
มีเขี้ยวในลักษณะ Opisthoglypha ไม่ปรากฏพิษมีปฏิกิริยาต่อมนุษย์

งูสายรุ้งลาย
Spotted Rainbow Water Snake
Enhydris jagorii, Peters
งูสายรุ้งลายเป็นชนิดที่มีมากเกือบเท่ากับงูสายรุ้ง (E.enhydris) แต่มักดุ จะกัดถ้าไปจับตัวมัน มีเขี้ยวในลักษณะ Opisthoglypha ไม่ปรากฏพิษมีปฏิกิริยาต่อมนุษย์
ขนาดยาว 350 ม.ม. (หัว 22 ม.ม. ตัว 230 ม.ม. หาง 98 ม.ม.) หลังสีเทา ข้างตัวมีจุดดำเรียงเป็นระยะตั้งแต่คอถึงหาง ใต้แนวจุดดำมีแถบขาว บางตัวจะสีชมพู

งูปลิง
Spring พarter Snake
Enhydris piumbia, Boie
มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลงูสายรุ้ง (Enhydris) ยาว 210 ม.ม. (หัว 14 ม.ม. ตัว 122 ม.ม. หาง 74 ม.ม.) หัวโต หลังสีมะกอก ข้างตัวสีเหลือง ท้องขาว สามารถงอตัวแล้วดีดตัวไปข้างหน้าเป็นระยะได้คล่องแคล่ว แทนการเลื้อยไปเหมือนงูทั่ว ๆ ไป ชอบขดรัดตัวอยู่กับยอดต้นข้าว ต้นหญ้าที่ขึ้นโผล่ เหนือนํ้า เมื่อมีคนเดินผ่านมาใกล้ก็จะดีดตัวพุ่งลงนํ้า มีนิสัยดุ มีเขี้ยวในลักษณะ Opisthoglypha ไม่ปรากฎพิษมีปฏิกิริยาต่อมนุษย์
งูปลิงมีทุกภาคของไทย นอกจากในไทยมีใน จีน พม่า อินโดจีน

งูไซ
Bocourt Water Snake
Enhydris bocourti, Jan
มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลงูสายรุ้ง (Enhydris) ขนาดยาว 890 ม.ม. (หัว 56 ม.ม. ตัว 662 ม.ม. หาง 142 ม.ม.) หัวทู่โต คอโตไม่คอด ตัวอ้วนกลม หางสั้น มีนิสัยดุ มีเขี้ยวในลักษณะ Opisthoglypha ไม่ปรากฏพิษมีปฏิกิริยาต่อมนุษย์ แต่หากถูกกัดอาจมีบาดแผลมาก เพราะหัวโต ปากกว้าง
งูไซหลังสีนํ้าตาลแดง ลายนํ้าตาลเข้มใหญ่บนหลังแล้วค่อยเล็กลง ขวางเป็นข้อกับสีขาวด้านข้างลำตัว ใต้คางเหลือง ตาสีนํ้าตาลแดง ริมปากมีลายขีดสีดำ ท้องขาว
งูไซพบทั่วไปในไทย นอกจากไทย มีใน จีน พม่า อินโดจีน และมาเลเซียตอนเหนือ

ใส่ความเห็น